ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
มีดังนี้
- เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
เพราะทำแล้วรายได้ตกเป็นของตนเอง
- เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด
จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและคุณภาพของสินค้าดีขึ้น
- ผู้ผลิตสินค้ามีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร
ผลิตอะไร และผลิตมาปริมาณเท่าใด
- ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ
ในราคาที่เป็นธรรมมากที่สุด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
มีข้อบกพร่องหลายประการด้วยกัน คือ
- ทำให้การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน
เพราะบุคคลในสังคมต่างมีทรัพย์สินไม่เท่าเทียมกัน
บุคคลที่มีทรัพย์สินมากย่อมมีความได้เปรียบบุคคลที่มีทรัพย์สินน้อยกว่าทั้งนี้เพราะทรัพย์สินเป็นแหล่งกำหนดรายได้
คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมแสวงหารายได้จากทรัพย์สินของตนได้มาก
โอกาสที่จะสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของบุคคลในสังคมจึงมีมาก
ซึ่งหากคนที่มีทรัพย์สินมากหรือที่เรียกว่า “นายทุน” เป็นบุคคลที่ขาดจริยธรรมแล้ว
โอกาสที่นายทุนจะเอาเปรียบผู้อื่นย่อมมีมากเพราะมักจะขาดจริยธรรมและคำนึงถึงแต่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและกำไรมากๆ
เป็นสำคัญ จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันและความระส่ำระสายทางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม จึงมีผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องเสื่อมลงในบางประเทศ เช่น
สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม ฯลฯ ต้องเลิกล้มไปในที่สุด
- ในบางสถานการณ์ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่สามารถจะนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ได้
เช่น ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม
หากรัฐบาลปล่อยให้เอกชนดำเนินการเศรษฐกิจเองโดยเสรี
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาจจะเลวลงกว่าที่เป็นอยู่ เช่น
ประเทศอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลต้องหันมาแทรกแซงกิจกรรมของเอกชน
เพราะกลไกราคาใช้ไม่ได้ผล ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าและบริการต่างๆ
จนต้องใช้วิธีปันส่วน
- ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
หากมีผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อยราย
โอกาสที่ผู้ผลิตที่จะรวมตัวกันเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการย่อมเป็นไปได้ง่าย
เพราะรัฐบาลไม่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้
ผลเสียจะตกอยู่กับผู้บริโภคและผู้ใช้แรงงานซึ่งถูกเอาเปรียบ
โดยการขึ้นราคาสินค้าให้สูง และกดค่าจ้าง ค่าแรงงานให้ต่ำ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
มีดังนี้คือ
- ประชาชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมากกว่าระบบที่ต่างคนต่างอยู่
- ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกัน
§ เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก
- รัฐจะครอบครองปัจจัยขั้นพื้นฐานไว้ทั้งหมด
และความคุมกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
มีดังนี้
- แรงจูงใจในการทำงานต่ำ
เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น
- ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก
- ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้
ความสามารถหรือต้องการจะทำ
- ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าอาจไม่มีคุณภาพ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
- เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม
โดยสันติวิธีทางรัฐสภา
- รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ
มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า
- เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ
มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง
- ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
- ความไม่เท่าเทียมในรายได้
และทรัพย์สินมีน้อย
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม
- ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน
จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
เช่น ยามสงคราม
- การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ
เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน
- การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก
- นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน
เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่
- การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน
